รับจ้างเขียนแบบ
โทร 02-181-6866, 088-894-6888
  • th

สาระน่ารู้


สาระน่ารู้

ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน

บ้าน เป็นคำที่มีความหมายมากกว่าที่อยู่อาศัยหรือที่หลบแดดหลบฝน สำหรับคนส่วนใหญ่มันหมายถึงความฝันและชีวิตทั้งชีวิตเลยที่เดียว

ดังนั้นก่อนที่เราจะสร้างบ้านในฝันของเราซักหลัง เราก็ควรจะเข้าใจความต้องการของตัวเอง รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต่างๆ

ที่จะทำให้บ้านของเราเป็นเหมือนที่พักกายและที่พักใจ ในยามที่เราพักจากความเหน็ดเหนื่อยของการงานประจำอย่างแท้จริง

1. สถานที่ตั้งบ้าน

ความสำคัญของสถานที่ตั้งบ้านนั้นเป็นความสำคัณอันดับแรกที่เราต้องคิดก่อนจะสร้างบ้าน เนื่องจากเราจำเป็นต้องคิดถึงการเดินทางระหว่าง บ้านไปยัง ที่ทำงาน,โรงเรียน ,ตลาด,ศุนย์การค้า,สถานีรถไฟฟ้า,ราคาที่ดิน  เป็นต้น ในสมัยก่อนทำเลที่ดีคือทำเลที่ต้องอยู่กลางเมืองเนื่องจากระบบรถสาธารณะยังไม่ครอบคลุมเหมือนอย่างปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต่างก็ไปกระจุกกันอยู่ในเมืองเพียงอย่างเดียว ผิดกับปัจจุบันที่ทำเลที่ดีคือทำเลที่อยู่ไกล้รถไฟฟ้า, ก่อนที่เราจะคิดถึงการสร้างบ้านเราจึงควรมองหาบริเวณที่เราสามาถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ได้อย่างสะดวกที่สุด รวมถึงความปลอดภันของย่านที่อยู่ที่ต้องไม่ดูเปลี่ยวจนเกินไป ในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่นการซื้อบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านอาจจะรู้สึกอุ่นใจกว่าการสร้างบ้านเดียวที่แต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันเยอะๆเป็นต้น

 

2. จะถมดินสูงแค่ไหนดี


อันนี้เป็นคำถามยอดฮิตก่อนการสร้างบ้านเลยทีเดียว บางคนบอก 50 ซม บ้างก็ว่า 30 ซม ก็พอแล้วบางคนบอก 1 เมตรไปเลย แล้วจริงๆมันควรถมเท่าไหร่หละ คำตอบของเรื่องนี้คือ แล้วแต่ความชอบครับไม่มีการกำหนดที่แน่นอนเพียงแต่มันจะต้องสูงกว่าระดับถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางหน้าบ้านเรา ประมาณ 50 ซม ก็เพียงพอ แต่ถ้าถนนหน้าบ้านเป็นถนนดินแดงก็ให้เพิ่มความสูงของระดับดินถมเป็น 1 ม.เพื่อเป็นการรองรับความสูงของถนนที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากการลาดยางหรือทำถนนคอนกรีตในอนาคตนั้นเอง  อีกปัจจัยนึงคือระดับน้ำท่วมสูงสุดในบริเวณนั้น ถ้าสามารถหาข้อมูลได้เราก็ควรถมที่ดินให้สูงกว่าระดับดังกล่าวประมาณ 50 ซม.ขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

3. ทิศทางแดดลม กับ การวางตำแหน่งบ้าน


หลายๆ คนอาจจะคิดว่าไอ้เรื่องพวกนี้ มันจะสำคัญอะไรมากมายนักจะปลูกบ้านตรงไหนมันก็มีลมทั้งนั้นแหละ และที่สำคัญเราก็เปิดแอร์ทั้งวันอยู่แล้วไม่เห็นมีอะไรน่ากังวล ใครกำลังมีความคิดแบบนี้มั้งครับ ถ้ามีแนะนำว่าให้อ่านหัวข้อนี้ก่อนแล้วค่อยมาคิดอีกทีนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. รูปแบบและราคาประเมินการก่อสร้างบ้าน


รูปแบบบ้านมีหลากหลายแบบให้เลือกตามรสนิยมและความชอบส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ตั้งแต่รูปแบบที่มีความซับซ้อนมากอย่างแบบ บ้านเรือนไทยของเราเองที่มีความซับซ้อนทั้งรูปแบบและขั้นตอนในการก่อสร้างที่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูงมาก หรือแบบเรียบง่ายสมัยใหม่แบบ Modern Style ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนักแต่เน้นความเนียบเป็นหลัก เรื่องกระบวนการก่อสร้างนี้แหละที่ทำให้บ้านแต่ละรูปแบบบ้านราคาค่าตัวที่แตกต่างกันออกไป

 

 

 

 

 

 

 

5. ความต้องการพื้นฐานของเจ้าของบ้าน


การที่เราจะสร้างบ้านซักหลังนั้น เราจำเป็นต้องรู้ซะก่อนว่าเราต้องการอะไร?? บ้านหลังใหญ่แค่ไหน อยู่กันกี่คน มีผู้สูงอายุไหม ต้องการรูปแบบบ้านแบบไหน มีรถยนต์กี่คัน ต้องการห้องนั้งเล่นใหญ่ๆ หรือ ต้องการห้องน้ำแบบใหญ่โตโอลาน หรือไม่ ....บลาๆๆๆๆ ทั้งหมดนั้นเราเรียกว่าความต้องการพื้นฐานในการออกแบบบ้านครับ เราต้องตอบตัวเองกับเรื่องเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะสามารถให้ผู้ออกแบบสร้างบ้านในฝันออกมาตามความต้องการเราได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง อาจทำเป็นเช็คลิสต์ ง่ายๆ ไปเดินดูบ้านตัวอย่างตามโครงการก็ได้ ชอบอะไรก็จดไว้ ไม่ต้องรีบเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆแล้วค่อยๆสรุปออกมาเป็นข้อๆให้ผู้ออกแบบ ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น

 

 

 

 

 

 

 

6. การวางตำแหน่งห้องต่างๆ


เคยสงสัยกันไหมครับ ว่าทำไมเข้าบ้านต้องเจอห้องรับแขกก่อนทำไมไม่เข้ามาแล้วเจอห้องนอนเลยนะมันคงดีเนอะ แต่ถ้าขืนทำแบบนั้นจริงๆ ก็คงจะโดนใครต่อใครประณามได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ถ้าเราทำแบบนั้นกับคอนโดกลับมองว่ามันก็ปกติก็ห้องมันมีพื้นที่จำกัดนี้ครับ สำหรับบ้านแล้วเราควรเข้าบ้านมาเจอห้องโถงหรือห้องรับแขกก่อนแล้วจึงแยกออกไปเป็นห้องนอน ห้องอาหาร และ ครัว รวมถึงห้องน้ำที่ต้องเข้าถึงง่ายแต่มิดชิด

 

 

 

 

 

 

 

 

7. ทิศทางการวางบันได


ถ้ามองเรื่องนี้ในแง่ของฮวงจุ้ย เค้าก็จะบอกว่าอย่าหันบันไดบ้านไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็นทิศที่เกียวกับคนตายและสิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวงใครขืนหันบันไดไปทางนี้เอาว่าไม่ซวยอย่างไดก็อย่างนึงว่างั้น แต่ถ้าว่ากันตามหลักการออกแบบแล้วก็ไม่แนะนำให้หันบันไดไปทางทิศตะวันตกเช่นกันเนื่องจากทิศตะวันตกเป็นทิศที่มีแสงบ่ายค่อนข้างแรงอาจทำให้การใช้งานบันไดที่มีแสงบ่ายส่องตาอาจทำให้เจ้าของบ้านแสบตาจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้นั้นเอง แต่ถ้าจำเป็นต้องวางก็ไม่ควรให้ผนังด้านที่บันไดมุ่งไปหานั้นมีแสงส่องผ่านมาได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็นการนำแสงธรรมชาติลงมาจากด้านบนเพดานแทนก็ได้

 

 

 

 

 

 

 

8. ความสูงลูกตั้ง ลูกนอน และ จำนวนขั้นบันได


เรื่องของความสูงของลูกตั้งลูกนอนบันไดนั้นมีข้อกำหนดอยู่แล้วในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ผู้ออกแบบทุกท่านทราบเป็นอย่างดี คือลูกตั้งไม่ควรสูงเกิน 20 ซม และกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.ตัวเลขดังกล่าวใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั้วไป ซึงเป็นความสูงและความกว้างที่ผ่านการศึกษามาแล้วว่าเหมาะสมที่สุด ส่วนจำนวนขั้นบันไดนั้นไม่ได้มีกฏหมายกำหนดไว้ แต่ตามความเชื่อของคนไทยคือบันไดต้องจบที่เลข คี่ เนื่องจาก เลขคี่เป็นเลขของคนเป็น ส่วนเลขคู่นั้นถือว่าเป็นเลขของคนตายนั้นเอง แต่ในความเป็นจริงควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งมากกว่า

 

 

 

 

 

 

 

 

9. จะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดี


โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั้งไป(วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า) ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 ม.ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกด และประหยัดด้วย เอะ!ยังไง.....มันประหยัดยังไงกัน คำตอบก็คือปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดีเช่น กระเบื้องขนาด 30ซม x 30ซม หากปู 8 แถวก็จะได้ความสูง 2.40 พอดี เพราะถ้าเราปูแค่ 7 แถวก็จะได้ความสูงฝ้าแค่ 2.10 ม.ซึ่งเป็นระดับฝ้าที่เตี้ยเกินไปนั้นเอง และยังทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ หากต้องกรุในปริมาณมากๆก็ช่วยลดงบในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้อีกเยอะเป็นต้น

 

 

 

 

 

10. ทิศทางการเปิดประตูภายในบ้าน
อะไรนะเรื่องแบบนี้ก็ต้องมีหลักการด้วยเหรอมันจะเวอร์ไปไหม  ตอบได้ครับว่ามันสำคัณมาก เพราะถ้าเราติดตั้งประตูผิดทางอาจทำให้น้ำท่วมบ้านกันได้เลยทีเดียวนะครับ จะหาว่าไม่เตือน

 

 

 

 

 

 

 

ฮวงจุ้ยแปลนบ้าน ต้อนรับสิ่งดี ๆ ก่อนเข้าอยู่

 การจัดแปลนบ้านคือการวางแผนและจัดตำแหน่งที่อยู่อาศัยให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าแปลนบ้านนั้นดีพอสำหรับการรองรับพลังงานดี ๆ ที่จะเข้ามาหรือไม่ เพราะแต่ละส่วนของบ้านต่างก็มีพลังงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นเราจึงนำเอาหลักฮวงจุ้ยดี ๆ จากเว็บไซต์ fengshui.about.com ที่จะมาเผยเคล็ดการจัดแปลนบ้านตามหลักฮวงจุ้ยที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไรกันแน่ เพื่อให้คนที่กำลังวางแผนสร้างบ้านได้นำเอาใช้


1. ประตูทางเข้าบ้าน ด่านแรกในการต้อนรับพลังงานที่ดี

ประตูทางเข้าบ้านถือว่าเป็นด่านแรกต้อนรับพลังงานที่ดีให้เข้ามาในบ้าน ฉะนั้นการตั้งทิศทางของประตูทางเข้าบ้านจะต้องไม่ตรงกับหน้าต่างบานใหญ่และประตูบานอื่น ๆ ในบ้าน เช่น ประตูตู้เสื้อผ้า ประตูห้องน้ำ และบันได ลักษณะของประตูจะต้องเปิดเข้ามาข้างในบ้านไม่ใช่เปิดบานประตูออกนอกบ้าน เพราะจะเป็นการผลักพลังงานดี ๆ ออกจากบ้าน อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อฮวงจุ้ยที่ประตูทางเข้านั่นก็คือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบประตูทางเข้าบ้าน ควรจะจัดระเบียบทางเข้าให้ดูผ่อนคลายไม่วางของเกะกะดูรกหูรกตา


2. จัดวางประตูและหน้าต่างให้สมดุล เพื่อให้พลังงานไหลเวียนได้ดี

ทว่าลมสามารถเข้า-ออกบ้านได้ทางประตูและหน้าต่าง พลังงานที่ดีก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นเราควรจัดสมดุลของการติดตั้งประตูและหน้าต่างให้ดี โดยประตูแต่ละห้องไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกันเกินไป ส่วนหน้าต่างก็ควรให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของผนังบ้านไม่สูงและไม่ต่ำจนเกือบชิดพื้น เพื่อรักษาพลังชี่ (Chi) เอาไว้ ส่วนหลังบ้านจะต้องไม่มีประตูและหน้าต่างเยอะเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้พลังงานชี่อ่อนตัวลง

 

 

 

3. ห้องนอน พื้นที่ส่วนตัวที่ต้องความสงบ

ห้องนอนเปรียบเสมือนหัวใจหลักของบ้าน ดังนั้นมันควรจะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สงบปลอดภัยไร้สิ่งรบกวนและมีพลังงานที่ดีไหลเวียนตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ควรตั้งอยู่เหนือโรงรถ ห้องครัว และห้องน้ำหลัก แต่ควรจะตั้งอยู่เหนือห้องกินข้าวหรือห้องนั่งเล่นแทน ส่วนชั้นบนเหนือห้องนอนก็ไม่ควรเป็นห้องน้ำเด็ดขาด 

** ที่สำคัญห้องนอนต้องไม่ขวางทางเคลื่อนไหวของพลังงานหลัก โดยดูจากหลักการวางผังของยันต์แปดเหลี่ยม (Bagua) เมื่อเปิดประตูเข้าไปภายในห้องนอนจะต้องไม่ตรงกับหน้าต่าง นอกจากนี้ห้ามตั้งเตียงใกล้หน้าต่างจนเกินไป หากมีห้องน้ำภายในก็ควรจัดให้อยู่เยื้องกับเตียงนอนสักหน่อย ถ้าไม่สามารถย้ายหัวเตียงออกจากผนังห้องน้ำได้ก็ให้หาหัวเตียงมากั้นไว้แทน**


 

 

 

 

 

 

 

 

4. ห้องครัว จัดเตรียมอาหารให้ถูกทิศเพื่อสุขภาพที่ดี

พลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและร่างกายมักจะไหลวนเวียนอยู่ในห้องครัวเป็นหลัก แนะนำให้หลีกเลี่ยงการวางผังห้องครัวให้เผชิญหน้ากับประตูทางเข้าบ้าน แต่ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนผังได้ ก็ต้องแก้ด้วยการประดับดอกไม้ในห้องครัวหรือกระถางสมุนไพรเล็ก ๆ ให้ดูมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ไม่ควรสร้างห้องครัวกับห้องน้ำหรือบันได ส่วนการตกแต่งห้องครัวก็ควรจัดตำแหน่งตู้เย็น อ่างล้างจาน และตู้อบให้เยื้องกันแบบมุมสามเหลี่ยม ที่สำคัญตู้อบไม่ควรตั้งอยู่ในบริเวณทำอาหารและหลังประตูด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 


5. บันได มุมพลังงานเคลื่อนไหวที่ต้องระวัง

ตำแหน่งในบ้านที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาอย่างบันไดนั้น กลับเป็นฮวงจุ้ยที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนักสำหรับการจัดแปลนบ้าน ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการวางบันไดไว้กลางบ้านหรือตรงกับประตู ไม่อย่างนั้นจะทำให้พลังงานดี ๆ อ่อนแรงลง ซึ่งส่งผลให้ความเป็นอยู่ไม่ราบรื่น แต่ควรจะวางให้อยู่ในทิศสุขภาพ (ทิศตะวันออก) ทิศแห่งความรัก (ตะวันตกเฉียงใต้) และทิศการเงิน (ตะวันออกเฉียงใต้) ตามหลักยันต์แปดทิศ (Bagua) เพราะมันจะไปกดทับโชคลาภของแต่ละทิศเอาไว้ แต่ถ้าบ้านใครวางผิดตำแหน่งไปแล้วขอแนะนำให้เลือกวัสดุบันไดเป็นไม้แก้ไขแทน และเสริมด้วยการติดตั้งภาพวาดหรือโปสเตอร์ศิลปะ รวมทั้งการเพิ่มสีสันตรงผนังบริเวณบันไดก็จะช่วยให้ดีขึ้นได้

 

 

 

 

 

 

6. ห้องน้ำ ห้องซักผ้า และห้องเก็บของ

ห้องน้ำ ไม่ควรจะตั้งตรงข้ามกับประตูทางเข้า กลางบ้าน ใกล้ห้องครัว ตั้งในทิศการเงิน (ตะวันออกเฉียงใต้) และทิศที่เกี่ยวกับความรักความสัมพันธ์ (ตะวันตกเฉียงใต้)
ห้องซักผ้าและห้องเก็บขอ ทั้ง 2 ห้องนี้มีความคล้ายคลึงกันมีข้าวของให้ต้องจัดการอยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงไม่ควรตั้งให้อยู่ติดกับห้องนอนและตรงข้ามกับประตูทางเข้าบ้าน ไม่เว้นแม้แต่ตู้เก็บของที่ห้ามหันหน้าเข้าประตูทางเข้าบ้าน

7. ห้องนั่งเล่น สร้างรากฐานที่มั่นคงให้ทุกคนในบ้าน

ห้องสำคัญที่ควรจัดแปลนตามหลักฮวงจุ้ยนั้นก็คือ ห้องนั่งเล่น ศูนย์รวมของคนในบ้านทุกคนต้องมาพบปะพูดคุยและเพิ่มเติมความอบอุ่นให้แก่กัน บ้านไหนที่ไม่มีห้องนั่งเล่นหรือห้องนั่งเล่นเล็กเกินไปแสดงว่าบ้านหลังนั้นไม่มีฮวงจุ้ยที่ดี ซึ่งห้องนั่งเล่นจะต้องไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่ทำให้ทุกคนในบ้านรู้สึกอึกอัดเมื่อเจอหน้ากัน จัดแสงในห้องให้สมดุลโดยการใช้แสงธรรมชาติรวมด้วยก็จะดี เพื่อให้พลังงานที่ดีเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติจะว่าไปการจัดบ้านตามหลักฮวงจุ้ยอาจจะดูยากไปสำหรับบางคน แต่ถ้าทำตามหลักเหล่านี้ได้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราก็จะดีขึ้นใช้ชีวิตก็จะคล่องตัวมากขึ้น แถมยังเป็นการเปิดบ้านต้อนรับพลังที่สดใสให้กับชีวิตอีกด้วย

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก fengshui.about.com

 

ขั้นตอนการก่อสร้าง

 


 

งานด้านโครงสร้าง

งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก ได้แก่การลงเสา เข็มและการหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับโครงสร้างของเสาและคานที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนถัดไป หลังจากนั้นก็จะเป็นงานโครงสร้างของพื้นและบันไดซึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับเสาและคานที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้นจะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบนเพื่อความสะดวกในการทำงานและการลำเลียงวัสดุ ต่อจากนั้นก็จะเป็น งานโครงสร้างหลังคาซึ่งในปัจจุบันมักจะทำเป็นโครงเหล็ก  หลังจากการทำโครงหลังคาอันเป็นงานโครงสร้างส่วนสุดท้ายของตัวบ้าน แล้วก็ต่อด้วยการมุงหลังคา เพื่อทำหน้าที่คุ้มแดดคุ้มฝนให้แก่ตัวบ้าน 

 

 

 

 

 

 

 

 

งานก่อสร้างตัวบ้าน
งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำ ควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประตูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้ หากเกรงว่า จะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา

 

 

 

 

 

 

งานด้านสาธารณูปโภค
งานในส่วนนี้ ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร การเดินสายไฟ และท่อร้อยสายไฟ สำหรับการเดินสายไฟ ระบบฝัง การเดินท่อน้ำประปา และ สายไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำพื้นและผนัง ถ้าการเดินท่อน้ำและสาย ไฟเป็น ระบบเดินลอย คือเดินอยู่บนพื้นและ ภายนอกผนัง จะเริ่มทำได้หลังจาก มีการปูแต่งผิวพื้น และ ฉาบแต่งผนัง เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าการเดินท่อน้ำและสายไฟ เป็นแบบฝัง ก็จะต้องทำก่อน การเทพื้น การปูแต่งผิวพื้น และฉาบแต่งผนัง โดยควรจะมีการ ตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง ในการวางตำแหน่งของท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

งานด้านสุขาภิบาล
งานด้านสุขาภิบาล ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ การวางท่อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้แก่ การติดตั้งถังบำบัดหรือการทำบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งงานในส่วนนี้ จะทำในช่วงไหน ก็ได้แล้วแต่กำลังคน และความสะดวก เนื่องงานเหล่านี้มักเป็นงานที่อยู่ภาย นอกตัวบ้าน แต่จะต้องทำหลังจากเสร็จงาน ด้านฐานราก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากความกระทบกระเทือน จากการทำฐานราก ส่วนในกรณีของบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัดเช่น ทาวเฮาส์ ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตั้งถังบำ บัดหรือวางบ่อเกรอะและบ่อซึม อยู่ใต้พื้นห้องน้ำก็จะต้องทำก่อน การเทพื้นห้องน้ำ และในกรณีที่มีการวาง แนวท่อระบายน้ำ ไว้ใกล้กับ แนวรั้ว ก็ต้องทำหลังจาก การทำฐานราก ของรั้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ ให้ท่อระบายน้ำชำรุด จากการทำฐานรากของรั้ว

 

 

 

 

 

 

งานตกแต่ง
งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว

วิธีอ่านแบบก่อสร้าง

 

รู้จักกับภาพรวมของแบบแต่ละแผ่น
สำหรับแบบก่อสร้างบ้านที่เห็นกันโดยมากมักเป็นแบบพิมพ์เขียวหรือพิมพ์ขาวเย็บเล่มวางในแนวนอน มีขนาด A3 หรือ A2 ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้านและมาตราส่วนของแบบที่แสดง โดยแบบก่อสร้าง 1 ชุดควรประกอบด้วย แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมงานระบบประปาและสุขาภิบาล และแบบวิศวกรรมงานระบบไฟฟ้าเป็นอย่างน้อย อาจมีแบบงานระบบอื่น ๆ งานตกแต่งภายใน งานตกแต่งทัศนียภาพภายนอกเพิ่มเติม แล้วแต่ความเหมาะสม

องค์ประกอบในแต่ละหน้าของแบบมักประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือพื้นที่แสดงแบบไม่ว่าจะเป็น ผังพื้น (แปลน) รูปด้าน รูปตัด แบบขยายต่างๆ ฯลฯ ส่วนที่สองเรียกว่า Heading ซึ่งมักจะอยู่ทางขวามือของหน้า มีการกั้นเส้นหรือทำกรอบสี่เหลี่ยมล้อมไว้ เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลโดยรวมของแบบ ได้แก่ ชื่อโครงการและสถานที่ตั้ง ชื่อเจ้าของโครงการ ชื่อทีมงานผู้ออกแบบ และข้อมูลอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยด้านล่างของ Heading จะเป็นข้อมูลของแบบที่แสดงได้แก่ ชื่อแบบที่แสดง เลขที่หน้า จำนวนรวมแผ่น เป็นต้น
ส่วนแรกของแบบก่อสร้าง มักประกอบด้วย

 

 

 


       - สารบัญแบบ แสดงชื่อแบบที่แสดงในแบบก่อสร้างชุดนี้ทั้งหมดพร้อมเลขที่หน้าของแต่ละชื่อ มักอยู่หน้าแรกถัดจากหน้าปก โดยอาจจะรวมสารบัญแบบทุกประเภททั้งแบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมงานระบบประปาและสุขาภิบาล และแบบวิศวกรรมงานระบบไฟฟ้าให้อยู่ในหน้าเดียวกัน หรือบางกรณีที่ผู้จัดทำแบบแยกสารบัญแบบให้อยู่ในหน้าแรกของแบบแต่ละประเภทแล้วแต่ความเหมาะสม

   

 

   - รายการประกอบแบบ แสดงวัตถุประสงค์ของแบบ ข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานงานก่อสร้างทั่วไป มักจะแยกตามแต่ละประเภทของแบบเพราะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      - สัญลักษณ์ประกอบแบบ แสดงรายการสัญลักษณ์ต่าง ๆ  หรืออักษรย่อ และความหมายของสัญลักษณ์หรืออักษรย่อนั้น ๆ อาจมีการรวมทุกสัญลักษณ์ของแบบทุกประเภทในหน้าเดียวกัน หรือแยกชุดสัญลักษณ์ในแต่ละประเภทของแบบก็ได้ เช่นเดียวกับหน้าสารบัญแบบ

สัญลักษณ์ พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน
      รูปแบบของสัญลักษณ์ พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน ไม่ได้มีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานตายตัว รูปแบบที่หลากหลายจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้จัดทำแบบแต่ละราย ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบที่นิยมใช้กันมาก และพบเห็นได้ทั่วไป

 - สัญลักษณ์พื้น มักเป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่มีตัวเลขกำกับอยู่ภายใน ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงประเภทของวัสดุปูพื้นที่กำหนดไว้ในหน้าสัญลักษณ์ประกอบแบบ สัญลักษณ์พื้นจะปรากฎในแบบผังพื้น (แบบแปลน) แต่ละชั้น โดยมีตัวเลขบอกระดับความสูงพื้นแต่ละห้องหรือพื้นที่ประกอบเสมอ ระดับความสูงพื้นดังกล่าวจะเทียบจากระดับอ้างอิง (±0.00) ที่กำหนดไว้ในหน้ารายการประกอบแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระดับกึ่งกลางถนนหน้าบ้านเป็นระดับอ้างอิง

 

 

 

     

 

 

 - สัญลักษณ์ฝ้าเพดาน มักเป็นกรอบวงรีที่มีตัวเลขกำกับอยู่ภายใน ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงประเภทและรายละเอียดการติดตั้งของวัสดุฝ้าเพดานที่กำหนดไว้ในหน้าสัญลักษณ์ประกอบแบบ สัญลักษณ์ฝ้าเพดานจะปรากฎในแบบผังฝังเพดาน (แปลนฝ้าเพดาน) แต่ละชั้น โดยมีตัวเลขบอกระดับความสูงฝ้าเพดานแต่ละห้องหรือพื้นที่ประกอบเสมอ ระดับความสูงฝ้าเพดานดังกล่าวจะเทียบจากระดับพื้นในห้องหรือพื้นที่นั้น ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     

 

- สัญลักษณ์รวม มักเป็นกรอบตารางสี่เหลี่ยมที่มีการระบุชื่อห้อง ตัวเลขวัสดุพื้นและฝ้าเพดานพร้อมระดับการติดตั้ง และอาจมีตัวเลขวัสดุผนังในกรณีที่ใช้วัสดุผิวผนังเดียวกันทั้งห้อง สัญลักษณ์รวมจะปรากฎในแบบผังพื้น (แบบแปลน) และรูปตัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สัญลักษณ์ประตู หน้าต่าง
      สัญลักษณ์ประตูมักเป็นกรอบวงกลม ส่วนสัญลักษณ์หน้าต่างมักเป็นกรอบหกเหลี่ยม โดยภายในกรอบทั้งสองประเภทจะมีตัวเลขกำกับอยู่ภายใน บางกรณีอาจมีตัวอักษรกำกับเพิ่มเติมเพื่อบ่งบอกชนิดของวัสดุ สัญลักษณ์ประตู หน้าต่างจะปรากฎในแบบผังพื้น (แบบแปลน) แต่ละชั้น แบบรูปด้านและรูปตัด รวมถึงแบบขยายรายละเอียดต่าง ๆ
      สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ของประตูและหน้าต่างแต่ละชุด จะปรากฎในหน้าแบบขยายประตูหน้าต่างซึ่งมักแสดงข้อมูลเรื่องขนาด ลักษณะการเปิด / ปิด วัสดุวงกบ วัสดุบานกรอบ วัสดุลูกฟัก สีและลักษณะของพื้นผิว อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลูกบิด มือจับ บานพับ ฯลฯ 

 

 

 

 

 

 

 

 

สัญลักษณ์รูปตัด
      มีลักษณะเป็นวงกลมที่มีหัวลูกศรทรงสามเหลี่ยมซ้อนอยู่ ภายในวงกลมจะบอกชื่อของรูปตัดและเลขที่หน้าของแบบแสดงรูปตัดนั้น ๆ ปลายแหลมของหัวลูกศรแสดงทิศทางการมอง เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบผังพื้นเพื่อกำ&a